CPM Shoulder : ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

เครื่องบริหารข้อไหล่แบบต่อเนื่อง FISIOTEK LT

เครื่องบริหารข้อไหล่แบบต่อเนื่อง FISIOTEK LT เป็นเครื่องที่ใช้ในการรักษาอาการบาดเจ็บ และการรักษาข้อต่อหลังผ่าตัด โดยมีคุณสมบัติดังนี้

 

ข้อบ่งใช้ละประโยชน์

: เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่

: ช่วยเพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหวของหัวไหล่

: เพิ่มการทำงานของระบบการไหลเวียนโลหิตหรือสมรรถภาพระบบหายใจ

: ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อ เยื่อหุ้มข้อคลายตัว หรือยึดตัว

: ลดปวด

: ลดอาการชาของแขน ที่มีสาเหตุมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ

: ลดแรงกดที่เกิดขึ้นบนหมอนรองกระดูก

Specifications

  • อุปกรณ์สามารถปรับการเคลื่อนไหวและองศา ได้ดังนี้
: ท่ายกแขนขึ้น – ลง สำหรับผู้ป่วยในท่านั่ง (Elevation in Flexion for seated patients) ตั้งแต่ 0° ถึง 180°
: ท่ายกแขนขึ้น – ลง สำหรับผู้ป่วยในท่านอนหงาย (Elevation in Flexion for supine patients) ตั้งแต่ 0° ถึง 180°
: ท่ากางแขนขึ้น – ลง สำหรับผู้ป่วยในท่านั่ง (Elevation in Abduction – complete physiological range for seated patients)
: ท่าหมุนหัวไหล่ภายในและภายนอก สำหรับผู้ป่วยในท่านั่ง (Internal and external rotation for seated) ตั้งแต่ -90° 0° 90°
: ท่าหมุนหัวไหล่ภายในและภายนอก สำหรับผู้ป่วยในท่านอนหงาย (Internal and external rotation for supine patients) ตั้งแต่ -90° 0° 90°
  • สามารถปรับความเร็วได้ โดยปุ่มหมุนหลายระดับ ช้าสุด 120 องศา/นาที จนถึงเร็วสุด 240 องศา/นาที
  • น้ำหนักเครื่อง 35 กิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและสะดวก
  • สินค้านำเข้าจากประเทศอิตาลี และผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล

คำเตือน ข้อควรระวัง ข้อห้ามใช้

“อ่านคําเตือนในฉลาก และเอกสารกํากับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้”
 
คำเตือน
  1. ใช้โดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  2. อาจทำให้เกิดอาการช็อค หรือหมดสติจากการทำงานที่ผิดปกของเครื่อง หรืออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกายจากการรั่วของกระแสไฟฟ้าของเครื่อง
  3. ตรวจสอบสวิตช์หยุดฉุกเฉินให้ทำงานได้ตลอดเวลา
  4. บริเวณของร่างกายที่จะใช้กับเครื่อง
  5. ระยะเวลาในการออกกำลังกายของแต่ละเครื่อง
  6. การปรับการตั้งค่าอุปกรณ์ จะต้องกำหนดการตั้งค่าโดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  7. หากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองได้ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยควรต้องมีผู้ช่วยเหลือ
  8. อุปกรณ์ปลั๊กไฟและสายของอุปกรณ์ อาจก่อให้เกิดอันตรายซึ่งอาจทำให้เกิดการสายพันหรือรัดคอ และหากลูกบิดตัวล็อกหลุดออกจากอุปกรณ์ อาจจะทำให้ก่อเกิดอันตรายต่อเด็กและสัตว์เลี้ยง
  9. ควรมีการป้องกันหากมีบาดแผลบริเวณผิวหนัง และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงจากอุปกรณ์
  10. อาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกายมากเกินไป เช่น เป็นลม หน้ามืด วิงเวียนและปวดกล้ามเนื้อ
  11. อันตรายต่างๆที่อาจเกิดจากการใช้เครื่อง
ข้อควรระวัง
  1. ความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ
  2. ความดันโลหิตผิดปกติ
  3. ภาวะโลหิตจาง
  4. ภาวะข้อหลุดหรือเคลื่อน
  5. การใช้แรงต้านหรือแรงดึงที่มาก อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด
  6. ระยะแรกหลังการผ่าตัด
  7. เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และหญิงมีครรภ์
  8. ผู้มีอาการเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย
  9. มีอาการปวดเมื่อยหรือบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  10. การอักเสบและการติดเชื้อ
  11. อาจทำให้เกิดอาการปวดกรณีที่เกิดแรงดึงมากเกินไป หรือระยะเวลาดึงนานเกินไป
  12. ภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกพรุน (Ankylosis spondylitis)
  13. มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
  14. ภาวะข้อกระดูกสันหลังไม่มั่นคง (Instability of spine)
ข้อห้ามใช้
  1. การบาดเจ็บระยะเฉียบพลันในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการดึง
  2. บริเวณที่มีแผลบาดเจ็บ หรือแผลเปิด
  3. ผู้ที่เป็นมะเร็ง หรือเนื้องอกของกระดูก หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ดึง
  4. ภาวะการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง เช่น วัณโรค
  5. ภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง
  6. ภาวะประสาทไขสันหลังถูกกดทับ หรืออัมพาตท่อนล่าง
  7. ภาวะเป็นริดสีดวงทวารขั้นรุนแรง ภาวะไส้เลื่อน
  8. ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
  9. ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้

START TYPING AND PRESS ENTER TO SEARCH