Global Initiative for Asthma (GINA) guidelines 2018

บทความดีๆจากสมาคมอุรุเวชช์แห่งประเทศไทย

คณะกรรมการ the GINA Science committee ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2002 เพื่อรวบรวมและทบทวนผลการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาและจัดการโรคหืด และมีการทบทวนซ้ำเป็นประจำทุกปีร่วมกับสมาคมอื่น ๆ เช่น American Thoracic Society (ATS) และ European Respiratory Society (ERS) และในปี 2018 นี้ทางคณะกรรมการก็ได้ออกเผยแพร่แนวทางเวชปฏิบัติ GINA guidelines ฉบับปรับปรุงใหม่

มีอะไรใหม่บ้างใน GINA 2018?

  1. ในส่วนของการประเมินโรคหืด (assessment of asthma) มีการขยายความเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคหืดที่เป็น ‘independent’ risk factors ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยหมายถึงความเสี่ยงต่อการกำเริบเฉียบพลันของโรคแม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการของโรคหืดในขณะนั้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมาพบข้อมูลว่าการมี “bronchodilator reversibility” ที่มากขึ้นนั้นบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการกำเริบเฉียบพลันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบความเสี่ยงในการเกิดการตีบแคบของหลอดลมอย่างถาวร (persistent airflow limitation) เพิ่มเติมด้วย ได้แก่ preterm birth,

START TYPING AND PRESS ENTER TO SEARCH